ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ภูมิประเทศ
       อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาดงรัก บริเวณที่สูงสุดอยู่ทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือของอุทยาน ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดินและส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ประกอบด้วยเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า บางแห่งเป็นเขาหินปูน ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่


ภาพที่ 3 อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน
(ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/scenicshow.php?id=111)

       อ่างเก็บน้ำแก่งกระจานมีเนื้อที่ประมาณ 46.5 ตารางกิโลเมตร มีความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตรอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานมีเกาะกลางน้ำจำนวน 20 – 30 เกาะ และมีเกาะที่เป็นที่ตั้งของพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9)

       ลำห้วยสำคัญของแม่น้ำเพชรบุรีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้แก่ ห้วยแม่ประโดน ห้วยบางกลอย ห้วยแม่สะเลียง ห้วยหินเพิง ห้วยสาริกา ห้วยผาก ห้วยไผ่ และห้วยสามเขา ลำห้วยที่สำคัญของแม่น้ำปราณบุรีในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ แม่น้ำสัตว์ใหญ่ ห้วยป่าแดง และห้วยป่าเลา

ภูมิอากาศ
       พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ทำให้มีความชื้นสูง ในช่วงฤดูฝน ไม่สะดวกในการเดินทางไปท่องเที่ยว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสูง และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยว จึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริเวณบ้านกร่างและเขาพะเนินทุ่ง ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว


ภาพที่ 4 ป่าแก่งกระจาน
(ที่มา : https://goo.gl/NEmYJZ)


อ้างอิง
บรรหาร เลาหะวิไลย. (2545). 137 อุทยานทั่วไทย. กรุงเทพฯ : แก้ววิไล.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2560). อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. ค้นข้อมูล 30 มีนาคม 2561, 
              จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พรรณไม้

การแบ่งเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

สถานที่ที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน