บทความ

สถานที่ที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

รูปภาพ
      ผืนป่าในแก่งกระจานที่นอกจากจะอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจกับการได้เข้ามาสัมผัสธรรมชาติทั้งในรูปแบบของการศึกษาธรรมชาติ โดยผ่านกิจกรรมดูนก ดูผีเสื้อ ศึกษาพรรณไม้ หรือจะไปเที่ยวน้ำตก ชมถ้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้รู้จักธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ภาพที่ 12 แผนที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (ที่มา : คู่มือท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) 1. เขาพะเนินทุ่ง ภาพที่ 13 เขาพะเนินทุ่ง (ที่มา : http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1157)        เขาพะเนินทุ่ง อยู่บริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีความสูงประมาณ 1,207 เมตร เขาพะเนินทุ่งมีลักษณะเป็นยอดเขาที่มีที่ราบแคบๆ สภาพเป็นทุ่งหญ้าและต้นไม้แคระแกร็น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประมาณ 50 กิโลเมตร และเป็นจุดชมทะเลหมอก โดยจุดชมทะเลหมอก มี 2 จุด คือ จุดชมวิวกิโลเมตรที่ 30 และ จุดชมวิวกิโลเมตรที่ 36 สำหรับรถยนต์ที่จะเดินทางไปชมทะเลหมอกเขาพะเนินทุ่งหรือใช้เส้นทางสายวังวน-น้ำตกทอทิพย์ ควรเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ หรือรถที่มี

กิจกรรมที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

รูปภาพ
       อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า ทำให้ผู้คนมากมายต่างมาที่พื้นที่แห่งนี้ เพื่อซึมซับเอาความงดงามของธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจ และเข้ามารู้จักกับโลกของธรรมชาติในรูปแบบของการศึกษาธรรมชาติ ซึ่งในทุกกิจกรรมนั้นล้วนเน้นย้ำให้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งสิ้น และไม่ว่าจะไปประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวประเภทใดก็ตาม หากเพิ่มความสังเกตโดยอาศัยประสาทสัมผัสพื้นฐาน จะช่วยเพิ่มอรรถรสให้กับการท่องเที่ยวธรรมชาติได้ยิ่งขึ้น         ตาดู มองบน มองล่าง และรอบๆ ทั้งบนท้องฟ้า ยอดไม้ หรือแม้กระทั่งตามพื้นดิน จับตาดูสิ่งที่เคลื่อนไหว สังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด สีสัน และพฤติกรรมของสิ่งนั้น สิ่งที่เห็นอยู่นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนอยากเห็นแต่ไม่มีโอกาส         หูฟัง พยายามเงียบ แล้วธรรมชาติจะบรรเลงเพลงให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นนก แมลง สัตว์ป่า หรือเสียงใบไม้ไหว จะประสานกันดั่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ ถ้าโชคดีอาจจะได้เห็นเจ้าของเสียงนั้น         สูดลมหายใจลึกๆ พิสูจน์กลิ่นของป่าเขา ได้กลิ่นสาบของสัตว์ป่า กลิ่นดอกไม้ หรือกลิ่นอากาศ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ        กิจ

การแบ่งเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

รูปภาพ
ภาพที่ 9 แผนที่การแบ่งเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (ที่มา : คู่มือท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน)         การแบ่งเขตการจัดการพื้นที่ เพื่อกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ให้ เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม สำหรับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แบ่งเขตการใช้ประโยชน์ออกเป็น 5 เขต ดังนี้ 1. เขตบริการ        บริเวณที่มีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสำหรับบริการนักท่องเที่ยวและการปฏิบัติงานของอุทยานแห่งชาติ ในเขตนี้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเขตอื่นๆ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่นี้จำเป็นต้องมีการควบคุมให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่เขตบริการในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้แก่ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และที่ทำการ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ 2. เขตนันทนาการ        เป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ จุดชมทิวทัศน์บนเขาพะเนินทุ่ง น้ำตกป่าละอู น้ำตกทอทิพย์ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน และแค้มป์บ้านกร่าง 3. เขตป่าเปลี่ยว        ครอบค

สัตว์ป่า

รูปภาพ
       อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม คือ พื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานทางด้านทิศตะวันตกเป็นเขตที่ติดกับป่าที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่า ด้านทิศเหนือมีพื้นที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ซึ่งล้อมไปด้วยพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร และเชื่อมต่อไปถึงเทือกเขาภูเก็ตของภาคใต้ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นสามารถหลบหนีการไล่ล่าเข้ามายังเขตของอุทยาน        อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกลายเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์ป่า ชนิดของสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบว่า มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อย 47 ชนิด สัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์มี 8 ชนิด เช่น กวางป่า นากเล็กเล็บสั้น นากใหญ่ขนเรียบ ลิงเสน ลิงกัง หมีควาย มีชนิดของนกประมาณ 505 ชนิด ภาพที่ 7 นกกะลิงเขียดหางหนาม (ที่มา : https://goo.gl/6jKMXR) “ นกกะลิงเขียดหางหนาม เป็นนกประจำถิ่นที่สามารถพบได้เฉพาะ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28 บนเส้นทางสายวังวัน-น้ำตกทอทิพย์ ”  นกกะลิงเขียดหางหนาม ชื่อสามัญ : Ratchet-tailed Treepie ชื่

พรรณไม้

รูปภาพ
ระบบนิเวศของป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประกอบด้วยชนิดป่าที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่         1. ป่าดงดิบชื้น พบตามหุบเขาหรือร่องห้วยทางด้านทิศตะวันตกและทางทิศเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติโดยส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า “ ป่าริมห้วย ” ต้นไม้มีขนาดใหญ่และสูงกว่าปกติ มีโครงสร้างของพันธุ์พืชและการปกคลุมพื้นที่ของเรือนยอดชั้นต่างๆที่ค่อนข้างแน่นทึบ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พญารากดำ มะกอกแบน นกน้อย ผมหอม กระลอขน ตะแบก เสลา เขม่าสาย ตาเสือ เสม็ดเขา หนามขี้แรด ชมพูป่า หว้า เลือดควาย ยางโอน เสม็ดฟอง สะท้อนรอก มะม่วงป่า ลิ้นจี่ป่า และมังคุดป่า เป็นต้น        2. ป่าดงดิบแล้ง กระจายอยู่ทั่วพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยเฉพาะตามที่ลุ่มริมฝั่งน้ำในหุบเขา ไหล่เขา และที่ราบต่ำระหว่างภูเขา ต้นไม้มีขนาดใหญ่ รวมทั้งลูกไม้ กล้าไม้ และพืชพื้นล่างที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มหาพรหม สมพง ก้านเหลือง ดำดง สมอจัน ข่อยหนาม ถอบแถบ ดีหมี กระชิด หงอนไก่ดง กระเบากลัก หมากเล็กหมากน้อย ปออีเก้ง ตาเสือ ไทร เติม ยมหอม ยมป่า และตะเคียนทอง เป็นต้น ภาพที่ 5 มหาพรหม  (ที่มา : คู่มือท่องเที่ยว อ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

รูปภาพ
ภูมิประเทศ        อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาดงรัก บริเวณที่สูงสุดอยู่ทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือของอุทยาน ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดินและส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ประกอบด้วยเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า บางแห่งเป็นเขาหินปูน ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ ภาพที่ 3 อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน (ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/scenicshow.php?id=111)        อ่างเก็บน้ำแก่งกระจานมีเนื้อที่ประมาณ 46.5 ตารางกิโลเมตร มีความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตรอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานมีเกาะกลางน้ำจำนวน 20 – 30 เกาะ และมีเกาะที่เป็นที่ตั้งของพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9)        ลำห้วยสำคัญของแม่น้ำเพชรบุรีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้แก่ ห้วยแม่ประโดน ห้วยบางกลอย ห้วยแม่สะเลียง ห้วยหินเพิง ห้วยสาริกา ห้วยผาก ห้วยไผ่ และห้วยสามเขา ลำห้วยที่สำคัญของแม่น้ำปราณบุรี

อาณาเขต

รูปภาพ
ภาพที่ 2 แผนที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1028)        ทิศเหนือ ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำชี และพื้นที่โครงการสวนป่าสิริกิติ์ไทยประจันต์ ในเขตจังหวัดเพชรบุรี        ทิศตะวันออก ติกับพื้นที่เกษตรกรรม และป่าสงวนแห่งชาติบางส่วน ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์        ทิศตะวันตก ติดกับแนวเขตแดนของประเทศพม่า        ทิศใต้ ติดกับพื้นที่เขตปลอดภัยในราชการทหาร และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรีถึงเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี (นักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4, 2545) อ้างอิง นักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4. (2545). รายงานการวิจัย เรื่อง                 ความสนใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยาน                 แห่งชาติแก่งกระจาน จังเพชรบุรี พ.ศ. 2545 . เพชรบุรี : สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.